...ยินดีต้อนรับท่านสู่...องค์การบริหารส่วนตำบลมะม่วงสอลต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช...ด้วยความยินดียิ่ง...

วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พิธีถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา 5 ธันวาคม 2553


รำลึก 100 ปี สวรรคตสมเด็จพระปิยมหาราช

เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต ครั้นนั้นเป็นที่เศร้าสลดอย่างใหญ่หลวงของพระบรมวงศานุวงศ์และปวงชนทั่วประเทศ เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการทั้งในการปกครองบ้านเมืองและพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงได้ถวายพระนามว่า พระปิยมหาราช หรือพระพุทธเจ้าหลวง เมื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพตามราชประเพณีแล้ว ครั้งเมื่อบรรจบอภิลักขิตสมัยคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้สืบราชสันตติวงศ์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายตามราชประเพณี โดยเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกประดิษฐานบนพระแท่นนพปฎลมหา-เศวตฉัตร และเชิญพระพุทธรูปปางประจำพระชนมวารประดิษฐาน ณ โต๊ะหมู่ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือพระที่นั่งอนันตสมาคมส่วนที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระลานพระราชวังดุสิต หน้าที่นั่งอนันตสมาคม ที่เรียกว่าพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างประดิษฐานขึ้นน้อมเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะที่ทรงพระชนม์อยู่เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์ยั่งยืนนานถึง ๔๐ ปี และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนพ.ศ. ๒๔๕๑ นั้น
ต่อมาทางราชการได้ประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคมซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า วันปิยมหาราช และกำหนดให้หยุดราชการวันหนึ่งในวันปิยมหาราช เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น กรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็นสำนักพระราชวัง ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติ ฉัตร ๕ ชั้น ประดับโคม ไฟ ราวเทียม กระถางธูป ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราชครั้งแรก คือ ถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้ว ได้เสด็จฯไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์
---------------------------------------

พระราชประวัติ
สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์
พระบาทสมเด็จพระปริมทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า "สมเด็จเจ้าฬ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหากุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศ์บริพัตรสิริวัฒนราชกุมาร" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี พระบรมราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖
ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกจากสำนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๓ ผู้ทรงรอบรู้ด้านอักษรศาสตร์ และโบราณราชประเพณีอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นทรงศึกษาภาษามคธกับพระปริยัติธรรมธาดา(เนียม) เมื่อเป็นหลวงราชาภิรมย์ กรมราชบัณฑิต ทรงศึกษาวิชาการยิ่งปืนไฟจากสำนัก พระยาอภัยศรเพลิง(ศรี) ทรงศึกษาวิชาคชกรรมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ และวิชาอื่นๆ อันสมควรแก่บรมราชกุมาร
นอกจากนี้ ได้ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ จากชาวต่างประเทศโดยตรง คือ นางแอนนาเลียวโนแวนส์ ครูสตรีชาวอังกฤษ ต่อมาทรงศึกษากับหมอจันดเล ชาวอเมริกัน และ เมื่อเสวยราชสมบัติแล้ว พุทธศักราช ๒๔๑๖ ได้ทรงศึกษา ได้ทรงศึกษากับครูชาวอังกฤษ ชื่อฟรานซิส ยอร์จ แพตเตอสัน ต่อมาก็ทรงพระอุตสาหะศึกษาด้วยพระองค์เองจนมี ความรู้ภาษาอังกฤษอย่างแตกฉาน
ในด้านวิชารัฐศาสตร์ ราชประเพณีและโบราณคดีนั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นผู้พระราชทานการฝึกสอนด้วยพระองค์เองตลอดมา
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ เหล่าเสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ ขึ้นเถลิงราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๑
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ ขณะนั้นทรงพระชนมายุเพียง ๑๔ พรรษา สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ รับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ระหว่างนั้นพระองค์ได้เสด็จประพาสต่างประเทศ คือ อินเดีย และชวา เพื่อทอดพระเนตรวิทยาการสมัยใหม่ที่ ประเทศทางตะวันตกนำมาเผยแพร่เพื่อนำเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒
เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุเป็นเวลา ๒ สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่นคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2553 (16-24 ก.ค.53)

รูปแบบการจัดนิทรรศการ
รูปแบบการจัดนิทรรศการ

รูปแบบการจัดนิทรรศการ
แพะแพนซี
บ่อหมักแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์


วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2553

งานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2553 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16- 24 กรกฎาคม 2553 ภายใต้หัวข้อ "เกษตรคือชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง หล่อเลี้ยงพลโลก" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา และเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการเกษตร รวมทั้งถ่ายทอดความรู้และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกษตรของหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ให้แก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, นิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่นและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมอาชีพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, การจัดแปลงสาธิตทางการเกษตร อาทิ นาข้าว พืชผลทางการเกษตร, และการประกวดผลผลิตทางการเกษตร ด้านพืชเศรษฐกิจ ผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

งานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กำหนดจัดงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจำปี 2552 ระหว่างวันที่7-9 กุมภาพันธ์ 2552 เพื่อรำลึกถึงพระคุณของพระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวนคร ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
แห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การแห่ผ้าผืนยาว(ผ้าพระบฏ)ไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการนำขึ้นห่มโอบล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน ด้วยความเชื่อและศรัทธาว่าการทำบุญและกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริง จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์และให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้ามากที่สุด
ความเป็นมา ก่อนหน้าที่ชาวเมืองหงสาวดีซึ่ง มีผะขาวอริยพงษ์กับบริวารร้อยคนมาประสบเหตุเรืออับปางอยู่บนฝั่งเมืองปากพนังมีผู้รอดชีวิตเพียง ๑๐ คน พร้อมผ้าผืนยาวซึ่งเรียกว่า “ผ้าพระบฏ”ในช่องสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ทรงปกครองนครศรีธรรมราช (ราว พ.ศ. ๑๗๗๓) นั้น ได้นำมาถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และได้ประกอบพิธีห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ตั้งแต่บัดนั้นมาชาวนครศรีธรรมราชจึงได้บูชาพระบรมธาตุเจดีย์ด้วยผ้าพระบฏสืบต่อมา โดยนิยมห่มปีละ ๒ ครั้ง คือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนสาม(วันมาฆบูชา)และวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนหก (วันวิสาขบูชา)
ผ้าพระบฏพระราชทานผ้าพระบฏ ที่จัดว่าเป็นความภาคภูมิใจของชาวนครศรีธรรมราชอย่างยิ่ง ก็คือผ้าพระบฏพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเนื่องในงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจำปี ๒๕๓๐ ในสมัยเรือตรีสุกรี รักษ์ศรีทอง เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
และจังหวัดนครศรีธรรมราชได้นำผ้าพระบฏผืนดังกล่าวเป็นผ้าต้นขบวนในประเพณีมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นประจำทุกปี จวบจนปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ในสมัยนายวิชม ทองสงค์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เห็นว่าพระบฏผืนเดิมที่ใช้ติดต่อกันมายาวนาน ๑๙ ปี เกิดชำรุดจึงดำริ ให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ประสานงานเพื่อขอพระราชทานผ้าพระบฏผืนใหม่แทนและทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานพระวโรกาสให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะเข้าเฝ้าเพื่อลงลายพระหัตถ์บน ผ้าพระบฏผืนใหม่ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๒๙ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา
และพระราชทานผ้าผืนดังกล่าวแก่พสกนิกรชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช อัญเชิญเป็นผ้าพระบฏต้นขบวนในงานประเพณีมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจำปี ๒๕๕๐ เป็นต้นมา